แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดแพร่
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและมรดก
คุ้มเจ้าหลวง : ในเมืองแพร่ยังมีศิลปกรรมแบบกึ่งคลาสสิคที่สร้างเมื่อราวร้อยกว่าปีนี่เองก็คือคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่
เป็นอาคารทรงอิตาเลี่ยนเก่าแก่ที่พำนักของเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์
เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะมีการก่อกบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่
อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2435 เป็นแบบยุโรปประยุกต์หลังคาสูงทรงปันหยา 2
ชั้น มีลวดลายเถาไม้แกะสลักประดับตัวบ้าน เช่นที่หน้าจั่ว ช่องลม ชายน้ำ ประตู
หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนทั้ง 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็ม
แต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็งรองรับฐานเสาทั้งหลัง
ภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่และภาพถ่ายที่หายากของเมืองแพร่
พระธาตุช่อแฮ : เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน
คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล
วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่
จังหวัดแพร่ บนเนื้อที่ 175 ไร่ บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ
เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่าถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่
แต่ไม่ได้มานมัสการ พระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่ การเดินทางมาเที่ยว วัดพระธาตุช่อแฮ ถนนสายหลัก คือ ถนนช่อแฮ
เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสี่แยกใจกลางเมืองแพร่
เข้าสู่ถนนช่อแฮ และตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ สนามบินจังหวัดแพร
หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแตหมู่บ้านมุ้ง สถานที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อยู่ในบริเวณเขตเทศบาล ตำบลช่อแฮ
ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร
จากตัวเมืองจังหวัดแพร่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 96 ง วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้มวลสารจากพระธาตุช่อแฮ
ทำพระสมเด็จจิตรลดา
วัดจอมสวรรค์ : สร้างสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2437 โดยชาวเงี้ยว ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในพม่า และเดินทางมา ค้าขายที่เมืองแพร่ เมื่อเกิดเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่
วัดจึงถูกปล่อยให้ทรุดโทรม
ต่อมาได้รับการบูรณะจากชาวไทยใหญภายในวัดมีโบราณวัตถุที่มีคุณค่า่
หลายอย่างของเมืองแพร่และชาติไทยเป็นศิลปะอันล้ำค่าของพระพุทธ ศาสนา
กรมศิลปากรได้เล็งเห็นความสำคัญของโบราณสถานและ โบราณวัตถุอันล้ำค่า
จึงได้จดทะเบียนไว้ เป็นสมบัติของชาติ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2533เพื่อจะได้อนุรักษ์
ไว้ให้ลูกหลานสืบไป
พระธาตุจอมแจ้ง : สร้างเมื่อ พ.ศ. 1331
ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง องค์พระธาตุจอมแจ้งสีทอง สูง 29 เมตร ฐานกว้าง 10 เมตร
เดิมเรียกว่า พระธาตุจวนแจ้งเนื่องจากสมัยที่พระพุทธองค์เสด็จถึงสถานที่นี้จวน
สว่างพอดี ต่อมาเพี้ยนเป็นจอมแจ้งเชื่อกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุ
พระเกศธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ พระหัตถ์เบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า
http://student.nu.ac.th/
วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร : ตั้งอยู่ถนนเจริญเมือง
อำเภอเมืองแพร่ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร แต่เดิมนั้นเป็นวัดราษฎร์ต่อมาในปี พ.ศ.
๒๔๙๘ ได้ยกฐานะ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ประเภทวรวิหาร
นั้นวัดพระบาทมิ่งเมืองมาจากสองวัดรวมกัน ได้แก่ วัดพระบาท และวัดมิ่งเมือง
ตั้งอยู่ห่างกันเพียงมีถนน กั้นเท่านั้น วัดพระบาทเป็นวัดของอุปราชหรือเจ้าหน้าหอ
ส่วนวัดมิ่งเมืองเป็นวัดของเจ้าผู้ครองนครแพร่เมื่อเมือง แพร่ล้มเลิกระบบเจ้าผู้ครองนคร
วัดทั้งสองก็ถูกทอดทิ้งอยู่ในสภาพทรุดโทรมมากกระทั่ง คณะกรรมการ
จังหวัดเห็นสมควรรวมสองวัดเข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่า วัดพระบาทมิ่งเมือง มาจนทุกวัน
ปัจจุบันวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี
พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่และยังมีพระเจดีย์มิ่งเมือง
ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีรอย พระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน
นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นที่ตั้งของมูลนิธิยาขอบอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง
"ยาขอบ"หรือ นายโชติ แพร่พันธุ์
นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นทายาทเจ้าเมืองแพร่คนสุดท้าย
หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง: ทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง
ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่และจากการ ค้นคว้าในหนังสือประวัติศาสตร์พบว่า
อพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงราย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประมาณ พ.ศ.
2360
– 2380 ไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง หรือชื่อเดิมเรียกว่า บ้านทั่งโฮ้ง “คำว่าทั่ง” หมายถึง ทั่วที่รองรับการตีเหล็ก คำว่า “โห้ง” เป็นภาษาไทยพวน หมายถึงสถานที่เป็นแอ่งลึกลงไป
คนพวนว่า “มันโห้งลงไป”สมัยก่อนนั้นคนพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะมีเตาตีเหล็ก
กันแทบทุกหลังคาเรือน เขาจึงเรียกว่า “บ้านทั่งโห้ง” ส่วนคำว่า “ทุ่งโฮ้ง” คงจะเป็นคำเพี้ยงจากคำว่า
“ทั่งโห้ง”อาชีพหลักของชาวบ้านทุ่งโฮ้ง
คือการทำผ้าหม้อห้อมแท้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษ
ที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่
จนได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP เชิงหัตถกรรม
(OTOP Village Champion Handicrafts Tourism) ผลิตภัณฑ์โดดเด่น
ผ้าหม้อห้อม หม้อห้อมเป็นคำพื้นเมือง จากคำสองคำคือ “หม้อ”
และ “ห้อม” หม้อเป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบรรจุน้ำ
หรือของเหลวมีทั้งเล็กและใหญ่ ส่วนห้อมนั้น เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง
ที่ใช้ลำต้นและใบมาหมัก ในน้ำตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ
จะให้เป็นสีกรมท่าโดยนำผ้าขาวไปย้อมให้เป็นสีกรมท่าที่เรียกว่า “ผ้าหม้อห้อม” ผ้าหม้อห้อม
เป็นผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านทุ่งโฮ้งที่มีความโดดเด่น
เนื่องจากเป็นเอกลักษณ์ของชาวทุ่งโฮ้ง และชาวแพร่มาช้านาน
ตลอดจนเป็นชุดแต่งกายประจำถิ่นของชาวแพร่ และชาวบ้านทุ่งโฮ้งที่สวมใส่
ในชีวิตประจำวัน และงานประเพณีต่างๆ จึงถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวแพร่
ดังคำขวัญของจังหวัดแพร่ที่กล่าวไว้ว่า “หม้อห้อมไม้สัก
ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”การจัดการด้านการท่องเที่ยวบ้านทุ่งโฮ้งมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสำหรับบริการให้ข้อมูล
และเอกสารแก่นักท่องเที่ยวพร้อมทั้งยังเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าOTOPภายในหมู่บ้านอีกด้วยและเป็นหมู่บ้านเชิงหัตถกรรมที่
นักท่องเที่ยวสามารถชมกระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อมได้ทุก
ขั้นตอนและสามารถเลือกซื้อได้โดยตรงจากชาวบ้านนักท่องเที่ยว สามารถพักแรมที่หมู่บ้านได้เพราะมี
Home
Stay ไว้สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย
พระธาตุพระลอ : อยู่ที่ตำบลบ้านกลาง
ห่างจากอำเภอสองประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 400 ปี
สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงความรักอมตะของพระลอแห่งนครแมนสรวง
และพระเพื่อน-พระแพงแห่งเมืองสรอง
เป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอซึ่งจัดว่าเก่าแก่ที่สุด
สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
บทประพันธ์ลิลิตพระลอได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดลิลิตบทหนึ่งเพราะบรรยายได้อย่างไพเราะ
คือ
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใดพี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
แก่งหลวง :เป็นบริเวณที่มีโขดหินใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ในแม่น้ำยม
ซึ่งเมื่อน้ำไหลมาปะทะจะเกิดฟองฝอยสาดกระเซ็นสวยงาม เหมาะสำหรับจัดกิจกรรมนั่งแพ
และล่องแก่งไต่เชือกมีกิจกรรม ที่เข้าเป็นฐานผจญภัยและยังเป็น
จุดชมความงามของลำน้ำยมอีกแห่งหนึ่ง
ดอยผากลอง:อุทยานแห่งชาติดอยผากลองอยู่ในท้องที่อำเภอลอง อำเภอเมือง
และอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ประกอบด้วยพื้นที่เป็นเขาสูงชัน
บางแห่งพื้นที่ราบบนเขามีหินโผล่จากพื้นดินตามธรรมชาติอย่างสลับซับซ้อน เป็นหินปูน
และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม คือ สวนหินมหาราช
จะมีหินโผล่ซึ่งมาจากพื้นดินตามธรรมชาติอย่างสลับซับซ้อนน่าอัศจรรย์
ประกอบกับบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบายปัจจุบันมีผู้เข้าไปเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก
และมีเทือกเขาดอยผากลองเด่นเป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
ถ้ำผานางคอย :
เป็นส่วนหนึ่งของภูเขาหินปูน ที่ตั้งตระหง่านกลางป่า ปกคลุมด้วยแมกไม้น้อยใหญ่ อดีตเมื่อผืนป่ายังอุดมสมบูรณ์
ละแวกนี้เต็มไปด้วยสัตว์มากมายหลายชนิด โดยเฉพาะกวางป่า
เป็นที่มาของชื่ออำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร
แต่เมื่อพื้นที่ถูกแปรเป็นพื้นที่การเกษตร สัตว์ก็ค่อยๆ หายไป
เหลือเพียงภูเขาหินปูน ถ้ำและหินงอกหินย้อยสวยวิจิตรอลังการเป็นประติมากรรม ที่ธรรมชาติสรรค์สร้างไว้ถ้ำแห่งนี้มิถูกร้อยเรียงเรื่องราวให้เข้ากับตำนาน
ถ้ำเอราวัณ :
เป็นถ้ำที่สวยงามที่สุดของจังหวัดแพร่ มีความลึกประมาณ 200 เมตร ภายในถ้ำมีห้องโถงกว้าง
มีหินงอก หินย้อยอยู่ทั่วไปรูปร่างคล้าย ช้างเอราวัณ
และหญิงอุ้มท้องตามตำนานของถ้ำแห่งนี้ ถ้ำเอราวัณ
เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีบันไดเรียงคดโค้งไปมาจากเชิงเขาเบื้องล่างขึ้นสู่ปากถ้ำกว่า 600
ขั้น มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่อยู่บริเวณปาก-ถ้ำ
มองเห็นได้เด่นชัดจากระยะไกลภายในถ้ำเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่เป็นสถานที่แห่งตำนานนิยายพื้นบ้านเรื่อง
“นางผมหอม” มีหินงอกหินย้อยสวยงาม
น้ำตกแม่เกิ๋งหลวงและแม่เกิ๋งน้อย
: สถานที่ตั้ง
อยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
สิ่งดึงดูดใจน้ำตกแม่เกิ๋งซึ่งเป็นที่รู้จักและสนใจของนักท่องเที่ยว
ที่เข้ามาเยี่ยมชมคือน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงพื้นที่หมู่บ้านที่ตั้งอยู่รอบๆพื้นที่ป่าอันเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำตกแม่เกิ๋ง
เป็นหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยง คำว่า
แม่เกิ๋งเป็นภาษากะเหรี่ยงหมายถึงขั้นบันไดลักษณะของน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงเป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีน้ำมาก
น้ำไหลตลอดปี ความสูงมีถึง ๗ ชั้นลดหลั่นกันลงมาจากภูเขาที่ลาดชัน
สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
โดยเห็นเป็นเส้นทางน้ำสีขาวพาดยาวอยู่กลางภูเขาที่ปกคลุมด้วยต้นไม้หนาแน่น
ระยะทางจากชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๗ประมาณกว่า ๒๐๐ เมตร มีเส้นทาง
ปีนป่ายขึ้นไปชมความงามจนถึงชั้นที่ ๗และบางช่วงของแต่ละชั้น
มีแอ่งน้ำใสสะอาดที่ลงเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัยน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าเข้าไปเที่ยวชม
แห่ง หนึ่งของจังหวัดแพร่
น้ำพุร้อนแม่จอก:หากพูดถึงบ่อน้ำร้อนแน่นอนว่าภาคเหนือของประเทศไทยนั้นค่อนข้าง
มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก "บ่อน้ำร้อนแม่จอก"ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่อง
เที่ยวที่มีชื่อเสียงและน่ามาเยือนซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ
เวียงโกศัย บ้านแม่จอก ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพรโดยบ่อน้ำร้อนนั้นมีลักษณะเป็นบ่อผุดขึ้นมาจากพื้นที่บริเวณนั้นส่วนน้ำร้อนในบ่อ
นั้นมีอุณหภูมิ ประมาณ 80 องศาเซลเซียสซึ่งมีลักษณะที่แปลกและสวย
งามมาก อีกทั้งยังมีห้องอาบน้ำแร่ นวดแผนไทย ไข่ลวกน้ำแร่ อาหาร
เครื่องดื่มจำหน่ายสินค้าที่ระลึกท้องถิ่นให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน
อีกด้วยนอกจากนี้ในช่วงตอนเช้า บริเวณบ่อน้ำร้อนจะมีหมอกควัน
ที่เกิดจากไอน้ำลอยอยู่เต็มไปหมด ซึ่งก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวย
งามแก่ผู้มาเยือนเป็นอย่างยิ่ง
วนอุทยานแพะเมืองผี :
อยู่ในท้องที่ตำบลแม่หล่าย ตำบลน้ำชำ ตำบลทุ่งทุ่งโฮ่ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีเนื้อที่ประมาณ
500 ไร่
กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2524 ลักษณะภูมิประเทศ
อ่างเก็บน้ำแม่ถาง: อ่างเก็บน้ำแม่ถาง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง
สร้างแล้วเสร็จในปี 2538
ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 215,000,000 บาท
ปริมาณการเก็บกักน้ำ 30.60 ล้านลูกบาศก์เมตรสามารถเก็บกักน้ำไว้ตลอดปี
อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการชลประทานแพร่ลักษณะเด่น อ่างเก็บน้ำแม่ถาง
เป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ได้แก่ ปลานิล ปลากดคัง
ที่ราษฎรตำบลบ้านเวียงสามารถหารายได้ได้มากพอสมควร นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหาร
(เรือนแพ) ที่ใช้ปลาสดจากกระชัง มีรสชาติดี
ผู้ที่ชอบการท่องเที่ยวยังมีแพสำหรับล่องเที่ยวชมอ่างในราคากันเอง
โดยเฉพาะผู้ที่ชอบการตกปลามีมุมตกปลาที่สงบเงียบไว้บริการในแต่ละวันจะมีผู้มาเยี่ยมชมอ่างเก็บน้ำแม่ถางอยู่เสมอทำให้สถานที่แห่งนี้
ไม่เคยเงียบเหงาเป็นอ่างเก็บน้ำคันดิน ของกรมชลประทาน
วัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการเกษตร ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำสำคัญของพื้นที่ ต.
บ้านเวียง ต. น้ำเลา อ. ร้องกวาง มีทัศนียภาพอันงดงามเหมาะ แก่การพักผ่อนหย่อนใจ
และมีการเลี้ยงปลาในกระชังอีกด้ว
http://student.nu.ac.th/