มาแอ่วเมืองแป้

มาแอ่วเมืองแป้


                                                                                   
เมืองแป้บ้านเฮา



          ศรีเมืองเวียงโกศัย







ประวัติจังหวัดแพร่


 




    เมืองแพร่ เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ประวัติการสร้างเมือง ไม่มีจารึกในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะการศึกษาเรื่องราวของเมืองแพร่จึงต้องอาศัยหลักฐาน ของเมืองอื่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนาน การสร้างพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นต้นตำนานพระธาตุช่อแฮกล่าวว่า เมืองแพร่มีมาตั้งแต่ สมัยพุทธกาล ตำนานวัดหลวงกล่าวไว้ว่าประมาณ พ.ศ. 1371 พ่อขุนหลวงพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้าได้อพยพคนไทย ( ไทยลื้อ ไทยเขิน) ส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมฝังแม่น้ำยม ขนานนามว่า เมืองพลนคร (เมืองแพร่ปัจจุบัน) ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าเมืองแพร่เป็นเมือง ที่ปกครองโดยพญายี่บาแห่งแคว้นหริภุญไชยสันนิษฐานว่าเมืองแพร่และเมืองลำพูนเป็นเมือง ที่สร้างขึ้นมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักศิลาจารึก พ่อขุนราม คำแหง มหาราชหลักที่ 1 ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 24 - 25 ซึ่งจารึกไว้ว่า . “.. เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองน่าน เมือง เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว …” ในข้อความนี้ เมืองแพล คือ เมืองแพร่ ศิลาจารึกนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1826 จึงเป็น สิ่งที่ยืนยันถึง ความเก่าแก่ ของเมืองแพร่ ว่าตั้งขึ้นมาก่อนเมืองเชียงใหม่และเชื่อว่าเมืองแพร่ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วก่อนการตั้งกรุงสุโขทัยเป็น ราชธานี ชื่อเดิมของเมืองแพร่ การก่อตั้งชุมชนหรือบ้านเมืองส่วนใหญ่ในภาคเหนือมักปรากฎ ชื่อบ้านเมืองนั้นในตำนาน เรื่องเล่า หรือจารึกตลอดจนหลักฐานเอกสารพื้นเมืองของเมืองนั้น ๆ แต่สำหรับเมืองแพร่นั้น แตกต่างออกไปเนื่องจากไม่มีหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง โดยตรงจึงมีที่มาของ ชื่อเมืองจากหลักฐานอื่นดังนี้ เมืองพล นครพลหรือพลรัฐนคร เป็นชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมที่สุดที่พบ

                  ในตำนานเมืองเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคน มาติดต่อเจ้านครพล ให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง และจากตำนาน พระธาตุลำปางหลวงตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเจ้าเมืองพลยกกำลังผู้คนไปขุดหาพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุไว้ในพระธาตุ แต่ไม่พบ เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าว พบว่าคนเมืองแพร่ปัจจุบัน ชื่อพลนครปรากฎเป็นชื่อวิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ โดยเชื่อว่าวัดนี้เป็นวัด ที่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่และเจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มา ตลอดจนหมดยุค การปกครองโดยเจ้าเมืองเมืองโกศัย เป็นชื่อที่ปรากฎในพงศาวดารเมืองเงิน ยางเชียงแสน ชื่อนี้ใช้เรียกเมืองแพร่ ในสมัยขอมเรืองอำนาจที่ชื่อเมืองในอาณาจักร ล้านนาเปลี่ยนเป็นภาษาบาลีตามความในยุคนั้น เช่น น่านเป็นนันทบุรี ลำพูนเป็นหริภุญไชย ลำปางเป็นเขลาค์นคร เป็นต้น

                    ชื่อ เวียงโกศัย น่าจะมาจากชื่อดอยที่เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองแพร่ คือ ดอยโกสิยธชัคบรรพต หมายถึง ดอยแห่งผ้าแพร เมืองแพล เป็นชื่อที่ปรากฎ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ด้านที่ 4 โดยคำว่า แพล น่าจะมาจากศรัทธาของ ชาวเมืองที่มีต่อพระธาตุช่อแพร หรือช่อแฮที่สร้างขึ้น ภายหลังการสร้างเมืองต่อมาจึงได้เรียกชื่อ เมืองของตนว่า เมืองแพล และได้กลายเสียงเป็นเมืองแพร่ปัจจุบัน



http://www.phrae.go.th/info/info1.html

ข้อมูลทั่วไป

 ตราประจำจังหวัดแพร่


          ตราประจำจังหวัดแพร่เป็นรูปม้ายืน และโบราณสถาน  ที่สำคัญของจังหวัดแพร่ ก็คือ
 พระธาตุช่อแฮประกอบอยู่บนหลังม้า


      

  จังหวัดแพร่ ใช้อักษรย่อว่า  " พร "
   


คำขวัญของจังหวัดแพร่
หม้อห้อมไม้สัก   ถิ่นรักพระลอ   ช่อแฮศรีเมือง   ลือเลื่องแพะเมืองผี    คนแพร่นี้ใจงาม




ธงประจำจังหวัดแพร่



 
ดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่


ชื่อสามัญ
  Almond-wood, Chickrassy Chittagong-wood

ชื่อวิทยาศาสตร์ 
  Chukrasia velutina Roem.

วงศ์
  MELIACEAE 

ลักษณะทั่วไป
  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็วเรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวยต่ำ เปลือกสีน้ำตาลคล้ำสีเทาหรือเทาปนดำแตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น ใบเป็นใบประกอบออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบเกลี้ยง ดอกขนาดเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

การขยายพันธุ์
  โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม
  เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิด
  ป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป 



วิสัยทัศน์จังหวัดแพร่
 เมืองแพร่น่าอยู่ ประตูสู่ล้านนา เศรษฐกิจก้าวหน้า ประชาเป็นสุข






http://www.phrae.go.th/file_econ/sattakit/phare/phare_03.html


เพลงประจำจังหวัดแพร่

เพลงประจำจังหวัดแพร่


   " เพลงเวียงโกศัย "

    เมืองแพร่สวรรค์ของลานนาไทย
   ชื่อเวียงโกศัยแต่ครั้งโบราณกาลก่อน
   สวยเอยงามแท้เมืองแพร่นคร
   สมดั่งเป็นเมืองอมร ถิ่นสถานตํานานพระลอ
   เย็นฉํ่าด้วยสายนํ้ายมไหลมา
   จากแนวเนินผา พืชพรรณธัญญาชูช่อ
   แสนเพลินซ่านซึ้งเพลงซึงเสียงซอ
   เอื้องดอยเจ้างามละออ แกว่งช่อใบไหวเอน เล่นลม
  โกศัยราตรีมีมนต์ขลัง คืนนี้เราเคยนั่ง ชื่นเชยยอดชู้คู่ชม
   หวานลํ้าจํานรรจ์ ช่างเสกสรรถ้อยคําคารม
   ปานประหนึ่งนํ้าผึ้งผสม เคล้าสายลมแสงเดือนเพื่อนใจ

ยามจากไปแล้วมิแคล้วคํานึง ด้วยความคิดถึงซาบซึ้งมิมีลืมได
  เหมือนดังต้องมนต์เข้าดลฤทัย ฝังจําติดตรึงหัวใจ เวียงโกศัยฉันไม่เคยลืม




http://student.nu.ac.th/

ข้อมูลลักษณะภูมิประเทศของจังหวังแพร่



ที่ตั้งและอาณาเขต



จังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งเหนือที่ 14.70 - 18.44 องศาเหนือ และเส้นแวงตะวันออกที่ 99.58 - 100.30 องศาอยู่สูงกว่า ระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 161.792 เมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 6,538.59 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,086,624 ไร่
จังหวัดแพร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
       


 ลักษณะภูมิประเทศ
                    

จังหวัดแพร่ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดแพร่ มีภูเขาล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ บริเวณตอนกลางของจังหวัด ลักษณะเป็นแอ่งที่ราบคล้ายก้นกะทะ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร มีแม่น้ำยมไหลผ่านทุกอำเภอจากทิศเหนือใน อำเภอสอง ไหลผ่านทุกอำเภอลงมาทิศใต้ บริเวณที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำยม ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และทำการเกษตร
เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่
- ภูเขาพญาฝอ ดอยหน้าบาก แบ่งเขตอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ กับอำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์
- ภูเขาม่อนกระทิง ดอยอ่างตั้งอยู่ทิศตะวันตกของอำเภอสูงเม่น แบ่งเขตระหว่างอำเภอสูงเม่น กับอำเภอลอง จังหวัดแพร่
- ภูเขากิ่งคอเมือง ดอยอ่าง และดอยขุนเขียด แบ่งเขตระหว่างอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ กับอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
- ภูเขาหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน แบ่งเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่ กับอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
- ภูเขาแปเมือง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของอำเภอเมืองแพร่ แบ่งเขตระหว่างอำเภอเมืองแพร่ กับอำเภอลอง จังหวัดแพร่
- ภูเขาก้อ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเด่นชัย แบ่งเขต อำเภอลองกับอำเภอเด่นชัย และแบ่งเขตอำเภอวังชิ้น กับอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย



สภาพภูมิอากาศ


จังหวัดแพร่ มีลักษณะภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝนหรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน จากลักษณะพื้นที่ของจังหวัดที่เป็นแอ่งคล้ายกะทะและมีภูมิประเทศเป็นภูเขาจึงทำให้ สภาพอากาศแตกต่างกันมาก อากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและหนาวจัดในฤดูหนาว
สภาพอากาศ ของจังหวัดแพร่ แบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39.8 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน 
ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม ในเดือนสิงหาคม มีฝนตกมากที่สุด และปริมาณน้ำฝนทั้งปี วัดได้ประมาณ 396.9 มิลลิเมตร 

ฤดูหนาว เริ่มในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัดในเดือนพฤศจิกายน มีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 11.5 องศาเซลเซียส




ทรัพยากรธรรมชาติ



ป่าไม้ จังหวัดแพร่มีจำนวนพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 1,503,768 ไร่ หรือร้อยละ 36.80 ของเนื้อที่ทั้งหมด ซึ่งเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ป่าดิบเขาและป่าเต็งรัง ไม้ยืนต้นที่สำคัญได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้กระยาเลย ไม้เต็ง ไม้รัง เป็นต้น 
แหล่งนำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดแพร่ได้แก่ แม่น้ำยม เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุด และสำคัญของจังหวัด ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาผีปันน้ำในเขตอำเภอปง จังหวัดพะเยาไหลผ่านทิศเหนือจากอำเภอสอง ลงมาผ่านทุกอำเภอของจังหวัดลงสู่ทิศใต้เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย เป็นแม่น้ำที่ประชาชนในจังหวัดแพร่ ได้ใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรและยังมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำยมเช่น น้ำแม่มาน ในเขตอำเภอสูงเม่น น้ำแม่ถางในเขตอำเภอร้องกวาง น้ำแม่สอง ในเขตอำเภอสอง น้ำแม่ต้า ในเขตอำเภอลองและน้ำแม่สรอย ในเขตอำเภอวังชิ้น
แร่ จังหวัดแพร่ มีแหล่งแร่หลายชนิดแต่เป็นแหล่งแร่ที่มีตลาดไม่กว้างมากนัก ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตสูง จึงทำให้กิจการเหมืองแร่ในจังหวัดนี้ไม่เติบโตมากเท่าที่ควร แร่ที่ขุดได้ในจังหวัดแพร่ ได้แก่ โดโลไมต์ และหินปูน




http://traffregion.otp.go.th/mis/Geography/geo_location.aspx?rid=16&pid=54&zid=0&tab=1

สภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดแพร่

สภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดแพร่
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ  ประชากรในจังหวัดแพร่ประกอบอาชีพที่สำคัญคือ   การเกษตรกรรม
  การอุตรสาหกรรม   การทำเหมืองแร่  โดยจำแนกได้ดังนี้

      การเกษตรกรรมในจังหวัดแพร่  


    ประชากรในจังหวัดแพร่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรมเป็น
  สินค้าที่ทำรายได้เข้าสู่จังหวัดมากที่สุด ขณะที่เกษตรกรมีพื้นที่ทำกินทางเกษตรเพียงร้อนละ16.69
  ชองพื้นที่จังหวัด อำเภอที่มีพื้นที่ทำกินทางการเกษตรมากที่สุด คือ อำเภอร้องกวาง รองลงมาคือ
  อำเภอเมืองแพร่ อำเภอที่มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อยที่สุด คือ อำเภอเด่นชัย ในด้านพื้นที่ถือครอง
  นั้นเกษตรกรในอำเภอสองมีพื้นที่ถือครองเฉลี่ยสูงที่สุด คือประมาณครอบครัวละ11.5ไร่ เกษตรใน
  อำเภอเมืองแพร่ มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรน้อยที่สุด ประมาณครอบครัวละ6ไร่ ในขณะที่
  จังหวัดมีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ยประมาณครอบครัวละ9ไร่
     ผลผลิตในภาคเกษตรกรรมเป็นผลผลิตของประชาชนส่วนใหญ่ ที่สำคัญได้แก่ การเพาะปลูก
  การเลี้ยงสัตว์ การประมงและการทำป่าไม้

     การเพาะปลูก


  
  เป็นสาขาเกษตรกรรมที่มีผู้ประกอบการมากที่สุด พื้นที่เพาะปลูกของจังหวัด
  แพร่ส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา รองลงมาคือการปลูกพืชไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ
  ตามลำดับ พืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกษตรกรนิยมทำการเพาะปลูกได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง ข้าวโพด
  ยาสูบ ถั่วลิสง ฝ้าย อ้อยโรงงาน ถั่วเขียว ผลไม้ พืชผัก


การเลี้ยงสัตว์ 



 อาชีพเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดแพร่ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากสภาวะ
 ความแห้งแล้งที่เกิดจากต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผลเท่าที่ควร พื้นที่บาง
 ส่วนไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้และกลายเป็นทุ่งหญ้า สัตว์ที่เกษตรกรชาวจังหวัดแพร่นิยมเลี้ยง
 ได้แก่ ไก่ โค-กระบือ สุกร เป็ด

  การทำป่าไม้




 ป่าไม้ธรรมชาติในจังหวัดแพร่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญจพรรณ ซึ่งมีไม้ที่สำคัญ
 คือไม้สักและไม้กระยาเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้สักเป็นไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ใช้ประดิฐ
 สิ่งของเครื่องใช้ได้สวยงาม พ.ศ.2532 หลังจากรัฐบาลได้ใช้มาตรการปิดป่าเป็นป่าถาวรเพื่อแก้
 ปัญหาการทำลายป่า  ทำให้อุตรสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไม้ในจังหวัดแพร่ได้รับผลกระทบ
 จากปัญหาการขาดแคลนไม้เพื่อใช้เป็นวัตถุในการผลิต  ราคาไม้ที่สูงขึ้ส่งผลให้อุตรสาหกรรม
  เฟอร์นิเจอร์ต้องลดกำลังการผลิตลง

การประมง  

   


 ในจังหวัดแพร่มีการประมงน้ำจืดเพียงเล็กน้อย   ทั้งนี้เนื่องจากสภาพโดย
 ทั่วไปของจังหวัดแพร่เป็นภูเขาเทือกเขา แหล่งน้ำต่างๆมีน้อยการประมงทำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ 
 ได้แก่  แม่น้ำยม  ห้วย  หนอง บึง  อุปกรณ์ที่ใช้  เช่น  แห  ยอ ตาข่าย  สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่
 ใช้บริโภคในครอบครัว
     
      การอุตสาหกรรม  




  เป็นการเปลี่ยนรูปวัตถุดิบ   ให้เป็นสินคาสำเร็จรูปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
  ต่างๆ  อุตสาหกรรมในจังหวัดแพร่ส่วนใหญ่ใช้วิธีกรรมง่ายๆ ลงทุนต่ำ  ในจังหวัดแพร่มีผู้ประกอบ
  อาชีพไม่มากนักเมื่อเทียบกับอาชีพเกษตรกรรม  โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอ
  เมืองแพร่  และกระจายไปทุกอำเภอ  โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดแพร่แบงตามขนาดได้ดังนี้
         อุตสาหกรรมในครัวเรือน    หรือเรียกว่า   หัตถกรรม   เป็นการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น
    มาผลิตเป็นสินค้า  ด้วยวิธีกรรมต่างๆ
  อุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือขนาดย่อม   เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินไม่มากนัก  อาจมีการใช้
    เครื่องจักรช่วยในการผลิตและใช้คนงานน้อย  จังหวัดแพร่มีอุตสากรรมนี้มากที่สุด   เช่น
    โรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยว
         อุตสาหกรรมขนาดกลาง  เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินทุนและเครื่องจักรมากกว่า
     อุตสาหกรรม  ขนาดย่อมดำเนินงานด้วยคนงานที่มีความรู้เฉพาะอย่าง อุตสาหกรรมขนาดกลาง
    ในจังหวัดแพร่    มีไม่มากนัก  เช่น  โรงงานอบเมล็ดพืช   โรงงานทำโมเสดปาเก้ 
    โรงงานอบใบยาสูบ  เป็นต้น  






  http://www.oocities.org/sukdee2006/history2/population.htm